เปรียบเทียบท่อเฟล็กซ์ร้อยสายไฟ PVC vs HDPE vs โลหะ

เปรียบเทียบท่อเฟล็กซ์ร้อยสายไฟPVC vs HDPE vs โลหะ เจาะลึกข้อดีข้อเสีย ความเหมาะสมในการใช้งาน และการเลือกให้ตอบโจทย์ความต้องการอย่างคุ้มค่า


เปรียบเทียบท่อเฟล็กซ์ร้อยสายไฟ PVC vs HDPE vs โลหะ

ท่อเฟล็กซ์ร้อยสายไฟ (Flexible Conduit) คือ ท่ออ่อนที่มีความยืดหยุ่นสำหรับใช้งานในระบบไฟฟ้า ใช้ร้อยสายไฟและป้องกันสายไฟจากความเสียหาย สามารถผลิตได้จากหลายวัสดุ ไม่ว่าจะเป็น PVC, HDPE และโลหะ ซึ่งแต่ละวัสดุนั้นจะมีคุณสมบัติในการใช้งานได้แตกต่างกันไปตามคุณลักษณะเฉพาะของวัสดุชนิดนั้น ๆ ท่อเฟล็กซ์ร้อยสายไฟมีประโยชน์ในการป้องกันสายไฟด้านในไม่ให้เกิดความเสียหาย ช่วยจัดระเบียบสายไฟของเครื่องจักรต่าง ๆ รวมถึงยังช่วยยืดอายุการใช้งานของสายไฟได้อีกด้วย 

วันนี้เราจะพาไปทำความรู้จักกับท่อเฟล็กซ์ร้อยสายไฟแต่ละชนิด พร้อมเปรียบเทียบคุณสมบัติของท่อเฟล็กซ์ร้อยสายไฟ: PVC vs. HDPE vs. โลหะ ว่าแต่ละชนิดนั้นเหมาะกับการใช้งานแบบไหนกันบ้าง ช่วยให้คุณเลือกใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่าได้สูงสุด

เลือกใช้แบบไหนดีกว่ากัน? ทำความรู้จักชนิดของท่อเฟล็กซ์ร้อยสายไฟ พร้อมแนะนำคุณสมบัติ

  • ท่อเฟล็กซ์ร้อยสายไฟชนิด PVC
    ท่อร้อยสายไฟที่ผลิตจากวัสดุพลาสติกชนิด PVC (Polyvinyl Chloride) มีน้ำหนักเบาและมีความยืดหยุ่น โดยมีคุณสมบัติในการทนทานต่อความชื้น และไม่เกิดสนิม สามารถทนแรงกระแทกได้ในระดับปานกลาง มักพบที่ใช้งานกันอย่างแพร่หลาย 2 สี คือ

    • ท่อร้อยสายไฟ PVC สีขาว เหมาะกับการติดตั้งแบบเดินลอย การร้อยสายไฟฟ้า สายโทรศัพท์ สามารถใช้กับพื้นที่ต่อเติมหรือพื้นที่ ๆ ต้องการออกแบบให้สวยงามได้ เพราะสามารถทาสีทับลงไปบนท่อได้ นอกจากนี้ยังสามารถใช้ดัดเย็นได้สูงสุด 90 องศาเซลเซียส

    • ท่อร้อยสายไฟ PVC สีเหลือง เหมาะกับการติดตั้งแบบเดินฝังบนผนัง มีคุณสมบัติในการเป็นฉนวนไฟฟ้า เพราะตัวท่อร้อยสายไฟนี้จะไม่นำไฟและไม่ทำให้เกิดไฟลุกลาม แต่จะไม่ทนต่อรังสี UV จึงเหมาะกับการใช้งานภายในอาคาร

  • ท่อเฟล็กซ์ร้อยสายไฟชนิด HDPE (High Density Polyethylene)
    ท่อร้อยสายไฟอีกชนิดที่ผลิตจากพลาสติก แต่เป็นพลาสติกประเภทโพลีเอทีลีน (Polyethylene) ชนิด High Density ที่มีความหนาแน่นสูง จึงทำให้ท่อเฟล็กซ์ร้อยสายไฟชนิดนี้มีความแข็งแรงทนทาน เหมาะกับการใช้งานเดินท่อร้อยสายไฟฟ้าแรงสูง แรงต่ำ สายโทรศัพท์ และสายไฟเบอร์ออฟติก (Fiber Optic Cable) หรือสายสื่อสาร สายสัญญาณ รวมถึงงานสายเคเบิ้ลใต้ดิน ท่อร้อยสายไฟชนิดนี้จะมีสีดำ มีความยืดหยุ่นสูง ไม่ต้องดัดงอ สามารถติดตั้งได้อย่างสะดวกรวดเร็ว นอกจากนี้ยังมีคุณสมบัติในการต้านเปลวไฟ ทนต่อแรงกดอัดและแรงกระแทกได้ดี ป้องกันน้ำ และทนต่อการกัดกร่อนจากสารเคมี และน้ำมันได้ รวมไปถึงยังสามารถหดตัวได้และปลอดภัยต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพพื้นที่ เช่น แผ่นดินไหว หรือ การทรุดตัวของพื้นที่ เป็นต้น

  • ท่อเฟล็กซ์ร้อยสายไฟชนิดโลหะ
    ท่อร้อยสายไฟชนิดนี้ผลิตจากโลหะชนิดต่าง ๆ แบ่งออกเป็น

    • ท่อโลหะขนาดบาง EMT (Electrical Metallic Tubing)
      ท่อเฟล็กซ์ร้อยสายไฟที่มีลักษณะท่อโลหะกลวงบาง และบริเวณปลายท่อทั้งสองด้านไม่ทำเกลียว ท่อชนิดนี้ผลิตด้วยกระบวนการรีดเย็นหรือรีดร้อน เพื่อให้ได้โลหะที่มีความบาง แล้วนำมาเคลือบด้วยสังกะสี ทำให้พื้นผิวเรียบสวย มีความมันวาว สำหรับการใช้งานเหมาะกับการติดตั้งแบบเดินลอยภายในอาคาร บนฝ้า หรือติดตั้งแบบฝังผนังไดั แต่ไม่เหมาะกับการติดตั้งบนพื้นคอนกรีตหรือในพื้นที่อันตราย เนื่องจากความหนาของท่อชนิดนี้มีไม่มากนัก หากติดตั้งบริเวณดังกล่าวอาจก่อให้เกิดความเสียหายได้

    • ท่อโลหะขนาดกลาง IMC (Intermediate Conduit)
      ท่อร้อยสายไฟที่มีลักษณะเป็นท่อโลหะกลวง บริเวณปลายทั้ง 2 ข้างจะมีเกลียวเพื่อง่ายต่อการเชื่อมต่อ มีความหนาระดับกลาง ๆ ซึ่งหนากว่าท่อโลหะ EMT และมีกระบวนการผลิตด้วยการรีดเย็นหรือรีดร้อน แล้วเคลือบด้วยสังกะสีเช่นเดียวกัน ท่อชนิดนี้มีผิวเรียบทั้งด้านนอกและด้านใน สามารถติดตั้งแบบเดินลอยทั้งภายในและภายนอกอาคาร จะนำไปติดตั้งบนฝ้า หรือแบบฝังผนังก็สามารถติดตั้งได้ และท่อเฟล็กซ์ร้อยสายชนิดนี้ ยังสามารถนำไปติดตั้งบนพื้นคอนกรีตได้อีกด้วย

    • ท่อโลหะชนิดหนาพิเศษ RSC (Rigid Steel Conduit)
      ท่อร้อยสายไฟที่มีลักษณะเป็นท่อโลหะกลวง ปชานทั้งสองด้านทำเป็นเกลียว และผลิตด้วยกระบวนการรีดเย็นหรือรีดร้อน พร้อมเคลือบด้วยสังกะสีเช่นเดียวกันกับท่อชนิด EMT และ IMC แต่จะมีความหนาแบบพิเศษหรือหนากว่าทั้งสองชนิดข้างต้นมาก จึงทำให้มีความแข็งแรงทนทานสูง ต้านทานต่อการกัดกร่อน และทนต่อสภาพอากาศได้หลากหลาย สามารถใช้แทนท่อเหล็กบางและท่อเหล็กหนาปานกลางได้ สำหรับการนำใช้สามารถติดตั้งในการเดินสายได้ทั้งภายนอกและภายในอาคาร โดยนำไปฝังในผนัง ฝังดินและพื้นคอนกรีต เหมาะกับพื้นด้านนอกอาคาร พื้นที่เสี่ยงเกิดการกัดกร่อนสูง และในพื้นที่อันตราย เป็นต้น นอกจากนี้ท่อชนิดนี้สามารถนำมาดัดโค้งงอได้หากใช้เครื่องดัดท่อ แต่ถ้าท่อที่มีขนาดใหญ่มาก ๆ ก็ยังจำเป็นจะต้องใช้ข้อต่อในการเชื่อมต่อแทน

    • ท่อโลหะชนิดอ่อน FMC (Flexible Metal Conduit)
      ท่อเฟล็กซ์ร้อยสายไฟที่มีลักษณะเป็นท่อโลหะที่ต่อกันเป็นข้อ ๆ ผลิตจากโลหะชนิดต่าง ๆ เช่น เหล็ก สแตนเลส กัลวาไนซ์ และอื่น ๆ และนำไปเคลือบสังกะสี ทำให้มีคุณสมบัติสำคัญคือความแข็งแรงทนทาน สามารถดัดโค้งงอได้ ช่วยป้องกันความเสียหายประเภทรอยขีดข่วน แรงกระแทก และฝุ่นควันได้ดี แต่ไม่เหมาะกับการติดตั้งในพื้นที่เปียกชื้น เพราะไม่สามารถป้องกันน้ำได้ สำหรับการใช้งานสามารถนำไปติดตั้งแบบเดินลอย พื้นที่แห้งและเข้าถึงได้ยาก หรือพื้นที่ที่มีการสั่นสะเทือน เช่น บริเวณมุมตึกสูง โคมไฟ มอเตอร์เครื่องจักรในโรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น แต่ไม่เหมาะกับพื้นที่เปียกและสถานที่อันตราย

    • ท่อโลหะชนิดอ่อนกันน้ำหรือกันของเหลว LFMC (Liquid Flexible Metal Conduit)
      ท่อร้อยสายไฟชนิดนี้คล้ายกับท่อโลหะชนิดอ่อน แต่มีการเพิ่มวัสดุอโลหะที่ช่วยกันน้ำได้อย่างพลาสติก PVC หรือ PE มาห่อหุ้มตัวท่อโลหะอ่อนเอาไว้ ทำให้นอกจากจะมีคุณสมบัติในการป้องกันน้ำและความชื้นแล้ว ยังมีความแข็ง ทนต่อแรงกด แรงกระแทก และรอยขีดข่วน รวมไปถึงคุณสมบัติไม่ลามไฟ และอัตราการเกิดควันต่ำ จึงเหมาะกับการติดตั้งที่มีความเปียกชื้น เข้าถึงยาก ใกล้กับเครื่องจักรที่ต้องเจอคราบน้ำมัน แต่ไม่เหมาะกับพื้นที่ที่ต้องเจอความร้อนสูงและสะเก็ดไฟ เพราะจะทำให้พลาสติกละลายได้ แต่ท่อร้อยสายไฟชนิดนี้ มีความยืดหยุ่นที่น้อยกว่า ท่อโลหะชนิดอ่อน สามารถดัดโค้งงอได้น้อยกว่าในขนาดที่เท่ากัน สำหรับการนำไปใช้งานสามารถนำไปติดตั้งได้ทั้งแบบเดินลอย ฝังผนัง ติดตั้งบนพื้นคอนกรีต เหมาะกับเครื่องจักรโรงงาน คอมพิวเตอร์ อาคารทั่วไป อาคารสูง อุโมงค์ หรือรถไฟฟ้าใต้ดิน เป็นต้น

ตารางเปรียบเทียบคุณสมบัติท่อเฟล็กซ์ร้อยสายไฟ: PVC vs HDPE vs โลหะ

 

คุณสมบัติ

ท่อเฟล็กซ์ร้อยสายไฟชนิด PVC

ท่อเฟล็กซ์ร้อยสายไฟชนิด HDPE

ท่อเฟล็กซ์ร้อยสายไฟชนิดโลหะ

วัสดุ

พลาสติก PVC

พลาสติกโพลีเอทิลีนความหนาแน่นสูง (HDPE)

โลหะ (สแตนเลส, อะลูมิเนียม, สังกะสี)

ความยืดหยุ่น

สูง ติดตั้งง่ายในพื้นที่คับแคบ

ยืดหยุ่นมากกว่าท่อ PVC

ยืดหยุ่นต่ำ ต้องใช้ความระมัดระวังในการติดตั้ง

น้ำหนัก

เบาที่สุด

เบา

หนักที่สุด

การต้านทานการกัดกร่อน

ต้านทานน้ำและความชื้น แต่ไม่ทนสารเคมีที่แรง

ทนต่อสารเคมี เช่น น้ำมัน กรดอ่อน ด่าง

ทนทานขึ้นอยู่กับชนิดของโลหะ เช่น สแตนเลสทนสนิมดี

การทนต่อแรงดันและการกระแทก

ปานกลาง เหมาะกับงานเบา

ทนแรงดันและกระแทกได้ดี

ทนแรงดันและกระแทกได้สูงที่สุด

ทนต่ออุณหภูมิ

ทนได้จำกัด ไม่เหมาะกับความร้อนสูง

ทนความร้อนกลาง ๆ เหมาะสำหรับงานภายนอก

ทนความร้อนได้สูง เหมาะกับสภาพแวดล้อมอุตสาหกรรม

ป้องกันการรั่วไหลไฟฟ้า/คลื่นแม่เหล็ก

ไม่มีคุณสมบัติป้องกัน

ไม่มีคุณสมบัติป้องกัน

ป้องกันการรั่วไหลไฟฟ้าและคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าได้ดี

การใช้งานที่แนะนำ

ภายในอาคาร งานระบบไฟฟ้าทั่วไป

ภายนอกอาคาร งานที่มีสารเคมีหรือความชื้นสูง

งานอุตสาหกรรมที่ต้องการทนต่อแรงดัน การกระแทก และอุณหภูมิสูง

ความเหมาะสมกับการใช้งานภายนอก

ไม่เหมาะเพราะกรอบง่ายเมื่อโดนแสงแดดและความร้อน

เหมาะมาก ทนทานต่อสภาพแวดล้อมภายนอก

เหมาะมาก ทนทานต่อการใช้งานที่ต้องการความคงทนสูง

ราคา

ประหยัดที่สุด

สูงกว่า PVC เล็กน้อย

สูงที่สุด

 

สรุปการเลือกใช้ท่อเฟล็กซ์ร้อยสายไฟ

จากที่เราได้กล่าวมาข้างต้นจะเห็นได้ว่าท่อเฟล็กซ์ร้อยสายไฟนั้นมีหลายชนิด และแต่ละชนิดนั้นมีคุณสมบัติและความเหมาะสมในการใช้งาน รวมถึงวิธีติดตั้งที่แตกต่างกันไป ดังนี้
  • ท่อร้อยสายไฟชนิด PVC เหมาะกับงานภายในที่ต้องการน้ำหนักเบา ติดตั้งง่าย และราคาประหยัด
  • ท่อร้อยสายไฟชนิด HDPE เหมาะกับงานภายนอกที่ต้องการความทนทานต่อสารเคมีและความชื้นสูง
  • ท่อร้อยสายไฟชนิดโลหะ: เหมาะกับงานที่ต้องการความปลอดภัยและความทนทานสูง เช่น งานอุตสาหกรรมที่มีความร้อนหรือแรงกระแทก และในบางชนิดสามารถนำไปติดตั้งบริเวณพื้นที่้ปียกชื้นและพื้นที่ที่มีการสั่นสะเทือนได้

สำหรับใครที่กำลังมองหาท่อเฟล็กซ์ร้อยสายไฟคุณภาพดี พร้อมตัวเลือกที่หลากหลาย แอคทีโว เทคโนโลยี (2556) เราเป็นตัวจริงท่อเฟล็กซ์ร้อยสายไฟ เรามีจำหน่ายอุปกรณ์เกี่ยวกับสายไฟฟ้าคุณภาพดีทุกชนิด มีทั้งรูปแบบขายปลีก-ส่งจากแบรนด์ชั้นนำที่หลากหลายตามมาตรฐานสากล ที่มีสต๊อกสินค้าพร้อมส่ง เรามีทีมงานผู้เชี่ยวชาญพร้อมให้คำปรึกษาและแนะนำสินค้า ด้วยประสบการณ์กว่า 15 ปี

สอบถามเพิ่มเติมและปรึกษาเพิ่มเติมได้ที่

บริษัท แอคทีโว เทคโนโลยี (2556) จำกัด

084-605-9888082-477-9888

      


 
Visitors: 226,997